การจำแนกประเภทของการผลิตพืชทางการเกษตรในประเทศไทย

การจำแนกประเภทของการผลิตพืชทางการเกษตรในระดับสากลมีหลักการแตกต่าง และหลากหลาย สำหรับประเทศไทย นักวิทยาศาสตร์การเกษตรได้จัดการจำแนกพืชออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะการปลุก การปฏิบัติดูแลรักษา รวมไปถึงการใช้ประโยชน์ ซึ่งสามารถแบ่งพืชออกเป็นสาขาใหญ่ๆ ดังนี้

๑ ป่าไม้ (Forest)
ป่าไม่ คือ อาณาบริเวณที่ต้นไม้ขึ้นหนาแน่น มีพื้นที่กว้างขวาง พอที่จะมีผลต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่น ลมฟ้า อากาศ ในบริเวณท้องถิ่นนั้น ๆ ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่สิ้นเปลืองอาจหมดสิ้นได้ ถ้าไม่มีการควบคุมดูแลรักษาที่ดี พันธุ์ไม้บางชนิดอาจสูญพันธุ์ แต่สามารถรักษาให้คงไว้ได้หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยวิธีการปลูกสร้างสวนป่าทดแทนในบริเวณที่ป่าถูกทำลายไปทั้งโดยธรรมชาติ เช่น ไฟป่าหรือโดยฝีมือมนุษย์ที่ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการทำไม้โดยถูกต้องตามกฎหมายในระบบสัมปทานตัดไม้ แต่ในปัจจุบันระบบสัมปทานตัดไม้ได้ถูกยกเลิกโดยเด็ดขาดแล้ว

๑.๑) ช่วยควบคุมสภาวะสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะป่าไม้ช่วยสร้างสภาพอากาศให้มีความบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น และช่วยป้องกันความแห้งแล้ง เพราะรากของต้นไม้จะช่วยดูดซับน้ำฝนที่ตกตามธรรมชาติไว้ และช่วยให้เกิดความชุ่มชื้น ร่มเย็น

๑.๒) เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำธาร เราเรียกป่าที่เป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำนี้ว่า “ป่าดิบน้ำ” ซึ่งจะช่วยเก็บกักและชลออัตราการไหลของน้ำ ไม่ให้น้ำไหลป่าท่วมพื้นที่ราบเบื้องล่าง ทำให้มีการใช้น้ำตลอดปี นอกจากนี้ยังช่วยป้องกัน และลดอัตรากัดเซาะ การพังทลายของผิวดิน เพราะราก ของสัตว์ต้นไม้จะเป็นตัวยึดไม่ให้ดินเกิดการพังทลาย

๑.๓ เป็นคลังสมุนไพรของคนในชุมชน และก่อให้เกิดอาชีพของชาวบ้าน เช่น อาชีพการเก็บหาสมุนไพร หวาย น้ำผึ้ง ไปขายทำให้สามารถมีวิธีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง พออยู่พอกินได้ อันเนื่องมาจากผลผลิตจากป่า

๒.๑) เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำไม้มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น นำไปก่อสร้างอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช่ในชีวิตประจำวัน ทำฟืน เผาถ่าน แล้วถางป่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ตลอดจนการบุกรุกป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ของชาวเขาเผ่าต่างๆ

๒.๒) เกิดจากไฟป่า ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากสภาวะแวดล้อมที่แห้งแล้ง ฟ้าผ่า การเผ่าป่าเพื่อล่าสัตว์ การเผ่าป่าเพื่อกำจัดพืช หรือเกิดจากการประเมินเลินเล่อของนักท่องเที่ยว เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อสภาวะอากาศแห้งแล้ง

๒.๓) เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช การชะล้าง การพังทลายของหน้าดิน เป็นต้น

๓. วิธีการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ การป้องก้นและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้สามารถทำได้ ดังนี้

๓.๑) ลดการตัดไม้ทำลายป่า โดยใช้วัสดุอื่นทดแทนการใช้ไม้ เช่น เหล็ก พลาสติก โลหะอื่นๆ แทนไม้ และใช้ประโยชน์จากไม้ให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยการปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้เล็งเห็นความสำคัญและคุณค่าของป่าไม้อย่างแท้จริง

๓.๒ การป้องกันและควบคุมไฟป่า ไม่ให้เกิดขึ้นในเขตอนุรักษ์สัตว์ และป่าต้นน้ำ

๓.๓ การปลูกป่าทดแทน ต้นไม้ที่ถูกทำลายไป ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนต้นไม้ให้มีปริมาณมากขึ้นในเขตป่าอนุรักษ์ และการปลูกป่าแบ่งออกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ดังนี้

๑) การปลูกป่าไม้เพื่อทดแทนป่าธรรมชาติ หมายถึง การนำพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ ไปปลูกในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เพื่อให้มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมพื้นที่ เพื่อสร้างความสมดุลทางธรรมชาติ สร้างสภาพแวดล้อมให้กลับคืน มาดังเดิม เช่น โครงการปลูกป่าตามแนวพระราชดำริ ของปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำนวน ๕ ล้านไร่ เพื่อทดแทนป่าธรรมชาติ เป็นต้น

๒) การปลูกป่าเศรษฐกิจ คือ การปลูกไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทดแทนต้นไม้ที่ถูกตัดไปใช้ ซึ่งเราเรียกว่า “การทำสวนป่า” ประชากรที่มีอาชีพการทำสวนป่านี้ คือ เกษตรกรสาขาการปลูกสร้างสวนป่า เช่น ส่วนป่าไม้สัก สวนป่ายูคาลิปตัส สวนป่าไม้สนประดิพัทธ์ ส่วนป่าไม้โตเร็วอื่น ๆ เป็นต้น

พืชไร่ คือ พืชที่ปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ ปฏิบัติดูแลรักษาง่าย ๆ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก เมื่อให้ผลผลิตแล้วก็ตายไป เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และชีวิตประจำวันของมนุษย์

พืชไร่สามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้

๑) จำแนกตามลักษณะการใช้ที่ดิน โดยอาศัยความสูงต่ำของพื้นที่ และความต้องการใช้น้ำของพืช ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้

๑.๑ พืชที่ปลูกบริเวณที่ดอน เป็นพืชที่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีในสภาพพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มีความต้องการใช้น้ำของพืชในปริมาณปานกลาง ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวฟ่าง ถั่วต่างๆ เป็นต้น

๑.๒ พืชที่ปลูกบริเวณที่ลุ่ม เป็นพืชที่เจริญงอกงามและให้ผลผลิตได้ดี ในสภาพพื้นที่ๆ มีน้ำขัง เป็นพืชที่ต้องการใช้น้ำเพื่อสร้างความเจริญเติบโตในปริมาณมาก เช่น ข้าว แห้ว บัว กระจับ เป็นต้น

๒) จำแนกตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้

๒.๑ พืชใบเลี้ยงเดียว คือ พืชที่มีใบเลี้ยง ๑ ใบ ลักษณะเส้นใบขนาดตามความยาวของใบ เช่น พืชตระหญ้า ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และชีวิตประจำวันของมนุษย์และสัตว์ นอกจากนี้ยังมีพืชอื่นๆ เช่น พืชตระกูลปาล์ม เป็นต้น

๒.๒ พืชใบเลี้ยงคู่ คือ พืชที่มีใบเลี้ยงเป็นคู่ ๆ ลักษณะเส้นใบเป็นร่างแห ได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่างๆ และพืชอื่นๆ ที่มีลักษณะดังกล่าว พืชใบเลี้ยงคู่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และชีวิตประจำวันรองลงมาจากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

๓) จำแนกตามหลักการใช้ประโยชน์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้

๓.๑ ธัญญพืชหมายถึง พืชตระกูลหญ้าที่เมล็ดสามารถปลูก เจริญเติบโตได้ มนุษย์และสัตว์ใช้ทั้งต้นและเมล็ดเป็นอาหาร ธัญญาพืชที่สำคัญของโลก ได้แก่ ข้าว ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ๊ต และข้าวโพด เป็นต้น

๓.๒ พืชตระกูลถั่ว หมายถึง พวกถั่วต่าง ๆ ที่เป็นพืชล้มลุก เช่น ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ส่วนพืชตระกูลถั่วที่เป็นไม้ยืนต้น ได้แก่ ต้นแค ต้นจามจุรี เป็นต้น ซึ่งพืชดังกล่าวสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารของมนุษย์และสัตว์ที่มีโปรตีน จากพืชสูง ราคาถูกกว่าโปรตีน ที่ได้จากเนื้อสัตว์

๓.๓ พืชอาหารสัตว์ หมายถึง พืชจำพวกหญ้า ผัก หรือถั่ว ที่นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะแห้ง เช่น ฟางอัดแห้งเป็นฟ่อนหรือที่ยังสดอยู่ก็ตาม เช่น ถั่ว ข้าวฟาง หญ้า พันธุ์ต่าง ๆ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

๓.๔ พืชที่ใช้รากและหัวเป็นประโยชน์ หมายถึง พืชที่นำรากและหัวมาใช้ประโยชน์ในด้านอาหารของมนุษย์ และสัตว์ เช่น มันสำปะหลัง เป็นต้น

๓.๕ พืชเส้นใย ได้แก่ ฝ้าย ป่าน ปอ งิ้ว หรือนุ่น พืชพวกนี้เกิดขึ้นเพื่อนำเส้นใยไปใช้ในทางอุตสาหกรรม เช่น ทำด้าย ทำเชือก กระสอบ เสื้อผ้า เป็นต้น

๓.๖ พืชที่ให้น้ำตาล เป็นพืชที่นำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งมาผลิตน้ำตาลได้ เช่น อ้อย หัวบีท เป็นต้น

๓.๗ พืชชวนเสพย์ คือ พืชที่มีสารออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ถ้าใช้มาก ๆ ติดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้ติดได้ เช่น ยาสูบ ชา กาแฟ ฝิ่น เป็นต้น

๓.๘ พืชที่ให้น้ำมัน เป็นพืชที่นำผลผลิตไปแปรรูปเป็นน้ำมัน แล้วจึงนำน้ำมันมาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหาร หรือนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลการเกษตร เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง มะพร้าว ปาล์ม ละหุ่ง งา ฝ้าย ข้าวโพด ทานตะวัน มะกอก เป็นต้น

๓.๔ พืชที่ให้น้ำยาง เป็นพืชที่ให้น้ำยาง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น ต้นยางพารา ยางสน ยางนา เป็นต้น
พืชสวน สามารถจำแนกออกได้ ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ของพืชนั้น ๆ ดังนี้

๑) ไม้ผล หมายถึง ไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนนานหลายปี จึงจะให้ผลผลิตที่เรียกว่า “ผลไม้” ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยแวดล้อมเหมาะแก่การปลูกไม้ผลได้หลากหลาย ชนิด แม้กระทั่งไม้ผลเมืองหนาว เช่น ท้อ ลิ้นจี่ สตรอเบอรี ก็สามารถปลูกได้ดีในภาคเหนือของไทยประเทศไทยของเรามีผลไม้ทยอยออกตามฤดูกาลต่าง ๆ ตลอดทั้งปี อาชีพการทำสวนผลไม้จึงเป็นอาชีพสำคัญของคนไทยอีกอาชีพหนึ่ง เกษตรกรที่ทำสวนจะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพืชที่ตนเองปลูกและมีความขยันหมั่นเพียร ปฏิบัติบำรุงดูแลรักษาสม่ำเสมอ การทำสวนผลไม้ต้องอาศัยระยะ เวลานานกว่าจะให้ผลผลิต จึงต้องมีเงินลงทุนสูงแต่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าพืชที่จัดเป็นผลไม้ เช่น ส้มต่างๆ เงาะ ทุเรียน มังคุด สละ ลำใย มะม่วง มะเฟือง ขนุน ชมพู่ เป็นต้น

๒) พืชผัก หมายถึง พืชพวกที่ใช้ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นอาหาร หรือเครื่องปรุงแต่ง กลิ่นอาหารต่าง ๆ พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก อายุสั้นเพียงฤดูเดียว เช่น ผักกาดขาว กวางตุ้ง คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดหัว พืชผักบางชนิดอาจจะมีอายุมากกว่า ๑ ปี เช่น ผักกะเฉด ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นต้น

๑. ใช้ใบเป็นอาหารโดยตรง เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว กวางตุ้ง กะหล่ำปลี เป็นต้น

๒. ใช้ใบเป็นเครื่องปรุงแต่งกลิ่นอาหาร หรือเครื่องชูรส เช่น สะระแหน่ กระเพรา โหระพา แมงลัก ยี่หร่า เป็นต้น

๒ ประเภทใช้ลำต้นเป็นอาหาร มีดังนี้

๑. ผักที่ใช้ลำต้นเป็นอาหารโดยตรง เช่น มันฝรั่ง เป็นต้น

๒. ผักที่ใช้ลำต้นเป็นเครื่องปรุงหรือเครื่องชูรส เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นต้น

๓ ประเภทใช้รากเป็นอาหาร มีดังนี้

๑. ผักที่ใช้รากเป็นอาหารโดยตรง เช่น ผักกาดหัว แครอท เป็นต้น

๒. ผักที่ใช้รากเป็นเครื่องปรุงรส หรือเครื่องชูรส เช่น รากผักชี เป็นต้น

๔ ประเภทที่ใช้ผลเป็นอาหาร มีดังนี้

๑. ใช้ผลเป็นอาหารโดยตรง เช่น มะเขือต่างๆ ฟักทอง ถั่วฝักยาว เป็นต้น

๒. ใช้ผลเป็นเครื่องปรุงรส เช่น พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า เป็นต้น

๕ ประเภทที่ใช้ดอกเป็นอาหาร เช่น กะหล่ำดอก ดอกหอม ดอกกุ่ยฉ่าย เป็นต้น

๑) ไม้ดอก หมายถึง พืชที่ปลูกขึ้นเพื่อนำดอกไปใช้ประโยชน์ เป็นพืชที่มีลักษณะดอกสวยงาม บางชนิดดอกมีกลิ่นหอม

ไม้ดอก สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้ดังนี้

๓. ไม้ตัดและไม้แคระ เป็นไม้ประดับที่มีความงามของทรงพุ่ม ลำต้น กิ่ง ใบ ดอก หรือผล โดยผู้ปลูกคอนตัดแต่งดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ และต้องมีศิลปะในการตกแต่งมาก ใช้เวลามากสามารถเลี้ยงเป็นงานอดิเรกหรือทำเป็นอาชีพได้ พันธุ์ไม้ที่นิยมใช้ทำไม้ตัด ไม้แคระ ได้แก่ ชาดัด ข่อย ตะโก โมก มะสัง ชวนชม เป็นต้น

๑) ประโยชน์และความสำคัญของป่าไม้ ป่าไม้มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่และการดำรงชีพของมนุษย์เราเป็นอันมาก ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

๒. สาเหตุที่ทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลาย ในปัจจุบันป่าไม้ได้ถูกทำลายลงไปอย่างมาก จนก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย ซึ่งพอสรุปสาเหตุสำคัญที่ป่าไม้ถูกทำลาย ดังนี้

๒ พืชไร่ (Agronomy)

พืชสวน (Horticulture)

โดยทั่วไปสามารถจำแนกพืชผักได้ตามหลักการใช้ประโยชน์ ได้ ๕ ประเภท ดังนี้

๑ ประเภทใช้ใบเป็นอาหาร มีดังนี้

๓) ไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้

๑. ไม้ตัดดอก คือ ไม้ดอกที่ปลูกเพื่อตัดดอกมาใช้ประโยชน์ โดยตรง ใช้ประดับแจกัน หรือประดับตกแต่งในงานพิธีต่าง ๆ จัดบริเวณงานให้เกิดความสวยงาม สามารถปลูกไม้ตัดออกเพื่อการค้าเป็นอาชีพได้ เช่น กล้วยไม้ กุหลาบ เยอบีร่า หน้าวัว เบญจมาศ ดาหลา ลิลลี่ คาร์เนชั่น ซ่อนกลิ่นฝรั่งหรือแกลดิโอรัส เป็นต้น

๒. ไม้ดอกประดับ หรือไม้ดอกติดกับต้น เป็นพันธุ์ไม้ดอกสวยงาม ไม่นิยมตัดดอกเพราะดอกไม่คงทน เหี่ยวเฉาง่าย นิยมปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแปลง ประดับตกแต่งอาคารสถานที่ มีทั้งไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก เช่น พุทธรักษา ชบา ทองอุไร ผกากรอง ประทัดจีน ดาวเรือง ดาวกระจาย สร้อยไก่หรือหงอนไก่ บานชื่น รักเร่ เป็นต้น

๒) ไม้ประดับ เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกประดับตกแต่งอาคารสถานที่ มีรูปทรง ลำต้น ใบ สวยงาม ไม่คำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากดอก สามารถแบ่งได้ดังนี้

๑. ไม้ใบ คือ พันธุ์ไม้ที่มีรูปร่างลักษณะของใบมีสีสันสวยงาม เช่น เฟร์น บอนสี ปริก โปร่งฟ้า โกสน ไทรยอดทอง เทียนทอง ปาล์มต่าง ๆ ข่อย ฤาษีผสม พลับพลึง สาวน้อยประแป้ง วาสนา เป็นต้น

๒. ไม้กระถาง เป็นพันธุ์ไม้ประดับที่สามารถนำมาปลูกให้เจริญเติบโตได้ดีในกระถาง เช่น แอหนัง ตะบองเพชร สาวน้อยประแป้ง ไม้ตระกูลปาล์ม ไม้เลื่อยต่าง ๆ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น